วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


pic-Chiffon



ชิฟฟ่อนส้ม

แป้ง ชิฟฟ่อนนุ่มใส้แยมส้ม ได้สองรสชาติที่หอมหวานนิดๆจากแป้งเค้ก สอดใส้ด้วยรสอมเปรี้ยวนิดๆฉ่ำลิ้นด้วยเนื้อส้ม เค้กที่มีเนื้อเบาๆได้จากการผสมของไข่ขาวตีจนนุ่มฟู ที่เพียงได้ลิ้มลองสักครั้งก็ไม่อยากวางช้อนเลยทีเดียว

ส่วนผสม

  • ไข่ขาว 10 กร้ม
  • น้ำตาล 275 กร้ม
  • น้ำมะนาว / น้ำส้มสายชู 5 กร้ม
  • ไข่แดง 10 ฟอง
  • น้ำ 125 กร้ม
  • น้ำมันพืช 165 กร้ม
  • เกลือป่น 5 กร้ม
  • แป้งเค้ก 225 กร้ม
  • อิมพีเรียลผงฟูดับเบิลแอ็คชั่นตราเบเกอร์สชอยส์ 7 กร้ม
วิธีทำ
  1. แยก ไข่ขาว, ไข่แดง, นำไข่ขาวผสมน้ำตาลใส่เครื่องผสม ตีด้วยความเร็วปานกลาง หรือ นำน้ำส้มสายชูลงตี กระทั่งตั้งยอดพร้อมผสม, นำไข่แดง, น้ำ, น้ำมันพืช, เกลือ ลงผสมในกะละมังสแตนเลส
  2. ใช้ ตะกร้อมือคนผสมให้ทั่ว ขณะที่ไข่ขาวตั้งยอดแข็งตัวปานกลาง จึงนำแป้งเค้ก, ผงฟูเบเกอร์ช้อยส์ ลงผสมในไข่แดง คนผสมให้ทั่ว จึงนำไข่ขาวมาผสมค่อยๆ คนผสมจนทั่วเทใส่พิมพ์
  3. นำเข้าเตาอบใช้ไฟอุณหภูมิที่ 170 องศาเซลเซียส ประมาณ 25-30 นาที หรือกระทั่งสุก พักไว้เย็น
  4. พร้อมใช้



ขนมทอด FRIED PRODUCTS
  • ไขมันที่ใช้ทอดขนมสามารถใช้ได้ทั้งเนยขาวและน้ำมันพืช
  • เนยขาว (SHORTENING) จะมีจุดเกิดควันสูง เมื่อนำไปทอดจะไหม้ช้า และเนยขาวเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อทอดขนมแล้วทิ้งให้เย็น เนยขาวจะเคลือบผิวของขนมทำให้ขนมมีลักษณะไม่อมน้ำมัน
  • น้ำมันพืช (VEGETABLE OIL) จะมีจุดเกิดควันต่ำกว่าเนยขาว เมื่อนำมาทอดน้ำมันจะไหม้เร็วกว่า และขนมจะมีลักษณะอมน้ำมันกว่า
  • เกร็ดขนมปังที่ใช้คลุกทอด ควรให้เกล็ดขนมปังที่อบแห้งจะดีกว่าเกล็ดขนมปังแบบชื้น เพราะเกล็ดขนมปังแบบชื้นจะอมน้ำมันได้ง่ายกว่า
  • งาที่ใช้สำหรับคลุกขนมทอด ไม่ควรใช้งาดิบ เพราะจะทำให้งาไหม้เร็วยิ่งขึ้น
  • อุณหภูมิที่ใช้ในการทอดขนมโดยทั่วไปจะประมาณ 325 -350 องศาฟาเรนไฮต์ (170 – 180 องศาเซนเซียส) โดยสามารถใช้เทอร์โมมิเตอร์วัด หรือจะใช้ตะเกียบไม้สำหรับทอด จุ่มลงในน้ำมันที่ร้อนได้ที่แล้ว จะสังเกตเห็นฟองเล็ก ๆ ที่ปลายตะเกียบ หรือที่เรียกว่า พรายน้ำมัน
  • ขนมประเภทที่ต้องใช้พิมพ์ทอด เช่น กระทงทอง ดอกจอก ควรแช่พิมพ์ทิ้งไว้ค้างคืนในน้ำมัน และก่อนทอดต้องจุ่มพิมพ์ในน้ำมันทอดให้พิมพ์ร้อนจัด จากนั้นจึงนำพิมพ์ไปจุ่มลงในส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ให้พอดีกับขอบพิมพ์ แล้วนำไปทอดขนมจะร่อนออกจากพิมพ์ได้ง่าย
  • วิธีทอดขนมดอกจอก เมื่อจุ่มพิมพ์ในน้ำมันทอดจนร้อนแล้ว จุ่มพิมพ์ลงในส่วนผสมแป้งนำลงทอดในน้ำมัน พอแป้งร่อนออกจากพิมพ์ ให้กลับเอาด้านหน้าขนมลงในน้ำมัน น้ำมันจะช่วยดันให้กลีบขนมดอกจอกบานพอขนมอยู่ตัว เริ่มเกิดสีจึงกลับด้าน ทอดจนสุกเป็นสีเหลืองทองเสมอกัน
  • วิธีทอดกระทรงทอง ส่วนใหญ่เวลาทอดมักจะพบว่าก้นกระทรงทองรั่ว หรือแตก วิธีแก้ไขคือ เมื่อจุ่มพิมพ์กระทงทองในน้ำมันจนร้อนแล้ว ให้ซับน้ำมันที่ก้นพิมพ์ก่อนจุ่มลงในส่วนผสมแป้ง เป็นการป้องกันไม่ให้ก้นกระทงทองรั่ว จากนั้นนำลงทอดในน้ำมัน แป้งจะร่อนออกจากพิมพ์ ทอดจนเกิดสีเหลืองทอง


ขนมปัง BREADS
เคล็ดลับการทำขนมปังให้ได้ผลดี
  • อ่านสูตรให้เข้าใจ
  • เลือกส่วนผสมที่มีคุณภาพดี และเหมาะสมสำหรับสูตรนั้น ๆ
  • ชั่งตวงส่วนผสมให้ถูกต้อง ก่อนเริ่มทำควรเช็คอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
  • เลือกเครื่องผสมให้ถูกขนาด และเหมาะสมกับปริมาณส่วนผสมนั้น ๆ
  • เมื่อผสมแป้งในขั้นตอนสุดท้ายควรนวดจนกระทั่งเนียน สามารถขึงเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ (เกิดกลูเต็นที่มีความเหนียวยืดหยุ่นดี)
  • ตัดแบ่งแป้งตามขนาด และรูปร่างที่ต้องการโดยเริ่มจากการคลึงกลมเพื่อจะได้ผิวที่เรียบตึง ทำให้ผิวขนมที่ได้เมื่อทำรูปร่างแล้วมีผิวที่สวย และควรเรียงลำดับในการทำรูปร่างเพื่อให้แป้งพักตัวได้ตามลำดับ
  • การหมักแป้งต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมทั้งอุณหภูมิและความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 30-38 องศาเซนเซียส ส่วนความชื้นจะประมาณ 80-90% ซึ่งก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของขนมปังนั้น ๆ และไม่ควรหมักแป้งไว้ในที่เปิดโล่งเพราะจะทำให้ผิวขนมแห้ง
  • ในการเลือกใช้พิมพ์ ควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของก้อนแป้งนั้น ๆ และควรทาไขมันให้พอเพียงเพื่อจะแซะขนมได้ง่ายและไม่เสียรูปร่าง
  • ในการอบ ควรเปิดเตาไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เตาได้อุณหภูมิที่ต้องการก่อนที่จะเข้าอบ การเลือกใช้อุณหภูมิในการอบต้องสังเกตดูจากขนาดของขนม และปริมาณน้ำตาลทรายในสูตร เช่น ถ้าขนมมีขนาดใหญ่ควรใช้อุณหภูมิอบที่ต่ำ และเวลาในการอบนานกว่าขนมชิ้นเล็ก
  • ถ้าเลือกใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม วิธีการสังเกตว่าขนมสุกหรือไม่อาจใช้การสังเกตจากสีของขนมโดยดูให้เกิดสีทั่ว
  • เมื่อขนมสุกแล้วควรแซะขนมขึ้นวางบนตะแกรง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนมเปียกแฉะจากไอน้ำ และจะทำให้ขึ้นราเร็ว
  • ควรพัก หรือรอจนขนมเย็นสนิท (อุณหภูมิประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส) โดยไม่ควรใช้พัดลมเป่า เพราะจะทำให้ขนมเสียความชื้นได้เร็วเมื่อเย็นสนิทดีแล้ว ควรเก็บใส่บรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการแห้งของขนม ฝุ่นละออง และการปนเปื้อน แต่ถ้าเก็บขนมขณะยังไม่เย็นสนิทจะทำให้ขนมปังผิวเหี่ยวย่น และเสียรูปร่าง
  • เมื่อบรรจุขนมแล้วไม่ควรเก็บในที่อับชื้น ร้อน เพราะจะทำให้เกิดไอน้ำกลั่นตัวอยู่ภายในถุงทำให้เกิดเชื้อราเร็วขึ้น
  • ในทุกขั้นตอนการผลิตขนมปัง ควรให้มีการรักษาความสะอาดตลอดเวลา เพื่อให้ขนมนั้นมีอายุการเก็บที่ยาวนานขึ้น
  • ในการสไลซ์ขนมปังให้เป็นแผ่น เช่น แซนวิช ควรรอให้ขนมปังเย็นสนิทก่อน มิฉะนั้นขนมจะเสียรูปร่าง และใบมีดจะทื่อเร็ว

พาย PIES
พายร่วน
  • ไม่ถูแป้งและเนยมากเกินไป
  • เมื่อเติมของเหลวลงไป ต้องไม่นวดส่วนผสมจนเหนียว
  • ในการทำพายชนิดปิดหน้าให้เจาะรูทางด้านหน้าเปลือกพาย
  • ในการทำพายชนิดที่อบเปลือกก่อนใส่ไส้ให้เจาะรูที่ก้นพายก่อนนำเข้าอบ
  • ถ้าต้องการให้พายมีสีสวย และเป็นมันเงาควรทาไข่ก่อนนำเข้าอบ
  • ชูว์ เพสตรี้ (Choux Pastry)
    ทำจากแป้งที่สุกตัวด้วยน้ำและไขมัน เมื่ออุ่นตัวจึงมีการเติมไข่ โปรตีนในแป้งและไข่กับไอน้ำจะดันตัว ทำให้ขนมพองตัวมีรูกลาง เพื่อใส่ไส้และแป้งจะขยายตัวขึ้น ถึง เท่าจากเดิม ชูว์ เพสตรี้ ที่นิยมกันทั่วไป คือเอแคลร์ จะเป็นรูปยาว ส่วนครีมฟัฟจะเป็นรูปกลม ชูว์ เพสตรี โดยทั่วไปจะใช้อบ แต่ถ้าใช้ทอดจะเห็นตัวอย่าง เช่น ทองพลุ หรือชูว์ พิซซ่าในเล่มนี้
    การเตรียมการทำชูว์ เพสตรี้
    1. เตรียมหม้อน้ำ และไขมันที่มีก้นลึกพร้อมพายไม้ หรือช้อนไม้ที่มีขนาดถนัดมือเพื่อการคนแป้งให้เข้ากันได้ดีที่สุด
    2. เตาต้มน้ำที่สามารถเร่งเปลวไฟให้แรงได้ดังต้องการ
    3. อาจใช้เครื่องผสมเพื่อทุ่นแรง ในการตีแป้งให้คลายความร้อน และผสมกับไข่เมื่อส่วนผสมอุ่น
    4. เตาอบสามารถตั้งอุณหภูมิให้สูงถึง 200-225 องศาเซสเซียส (400 – 450 องศา ฟ) เพราะการขึ้นฟูของชูว์ เพสตรี้จะขึ้นอยู่กับแรงดันไอน้ำเป็นสำคัญ
    ขั้นตอนที่สำคัญในการทำชูว์ เพสตรี้
    • การต้มน้ำต้องให้เดือดทั่ว เมื่อเติมแป้งลงในน้ำที่เดือดต้องผสมให้เข้ากันระวังแป้งเป็นเม็ด
    • การเติมไข่ต้องเติมในช่วงที่ส่วนผสมอุ่นตัว ถ้าผสมขณะที่เย็นส่วนผสมจะเหลว แผ่ตัวไม่กลวง แต่ถ้าผสมตอนร้อนไข่จะสุกตัวทำให้ขนมไม่พองตัว และควรเติมทีละน้อยเพื่อไม่ให้ส่วนผสมแยกตัว
    • การอบ ต้องใช้อุณหภูมิอบที่สูง เพื่อให้เกิดแรงดันไอ ทำให้ขนมพองตัวได้ตามต้องการ และไม่ควรเคลื่อนย้ายขนมขณะอบยังไม่สุก เพราะจะทำให้ยุบ
    พายชั้น
    • เลือกโต๊ะคลึงถ้าเป็นโต๊ะไม้ต้องไม่มีเสี้ยน และมีความแข็งแรงเพียงพอ เมื่อเวลากดคลึงสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอ (ในกรณีที่ไม่มีเครื่องรีดพาย)
    • เลือกไม้กดคลึงขนาดเหมาะมือและขนาดแป้ง อาจเป็นไม้คลึงแบบหมุนได้ หรือหมุนไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถนัดมือ
    • เตรียมเนยระหว่างชั้น ซึ่งเนยระหว่างชั้นควรจะมีจุดหลอมเหลวที่สูงพอประมาณ ถ้าเป็นเนยสดอาจต้องคลึงไว้แล้วนำไปแช่เย็นให้อยู่ตัวก่อนจึงนำมาคลึง และต้องมีตู้เย็นเพื่อแช่เย็นแป้งในระหว่างการพักทบ แต่ถ้าใช้เป็นเพสตรี้มาการีน หรือเพสตรี้บัตเตอร์ ก็จะสะดวกขึ้นเพราะมีจุดหลอมเหลวค่อนข้างสูง
    • ถ้าไขมันระหว่างชั้นที่ใช้มีจุดหลอมเหลวสูงมากเกินไปจะทำให้คลึงง่ายไม่ละลาย แต่เมื่ออบและนำมารับประทานจะมีลักษณะเป็นไขในปาก
    • ควรใช้ผ้าหรือพลาสติกคลุมแป้งในระหว่างการพัก เพื่อป้องกันผิวของแป้งแห้งแตก ซึ่งจะมีผลถึงการขึ้นชั้น
    • ถ้าเป็นพายที่มีไส้ต้องทำให้ไส้มีลักษณะแห้งอยู่ตัว เพื่อไม่ให้น้ำในไส้ขนมซึมออกมาที่ผิวแล้วทำให้ขนมนิ่มไม่กรอบ
    • ควรเตรียมมีดคม ๆ ไว้สำหรับตัดแบ่งชิ้น ถ้าใช้มีดที่ไม่คมจะเกิดการตีบที่บริเวณขอบทำให้การขึ้นชั้นไม่ดีเท่าที่ควร
    • แป้งนวลเป็นแป้งที่หล่อลื่นให้การคลึงสะดวกขึ้น และผิวของแป้งจะไม่ฉีกติดโต๊ะ แป้งนวลที่นิยมใช้กันสำหรับการทำพาย เช่น แป้งอเนกประสงค์ตราว่าว แต่ก็ควรปัดนวลส่วนเกินที่ติดที่ผิวแป้งออกทุกครั้ง มิฉะนั้นแป้งนวลจะทำให้ขนมกระด้าง และเกิดชั้นไม่เป็นระเบียบ
    • ควรทาไข่เจือน้ำที่ผิวพาย ในกรณีที่ต้องการให้ผิวพายมันเงามีสีสันสวยงาม ปกติจะใช้ในอัตราส่วนของ ไข่ : น้ำ ประมาณ1 : 1 ถ้าใช้ปริมาณไข่มากเกินไปอาจจะทำให้สีผิวเกิดเร็วเกินไป ในขณะที่ขนมยังไม่สุกดี
    • เตาอบเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำพายชั้น เนื่องจากการขึ้นชั้นของพายชั้น จะขึ้นกับอุณหภูมิที่ใช้อบ ในการอบพายชั้นมักนิยมใช้อุณหภูมิประมาณ 200 องศา – 225 องศาเซสเซียส (400 – 450 องศาฟาเรนไฮต์) อบจนกระทั่งสุก แต่ถ้าต้องการให้กรอบ อาจลดอุณหภูมิในการอบลง โดยจะอบที่อุณหภูมิประมาณ 300 องศาฟาเรนไฮต์ (150 องศาเซสเซียส) อบจนกระทั่งกรอบดังต้องการ

เค้ก CAKES
เค้กที่มีเนยเป็นส่วนผสมหลัก (BATTER TYPE CAKE)
  • เนยสด ควรจะแช่เย็นก่อนนำมาใช้
  • ในการตีเนยสดกับน้ำตาลให้ขึ้นฟูเบา ควรทำในห้องที่เย็น เพราะจะช่วยให้ตีขึ้นฟูได้ง่าย แต่ถ้าส่วนผสมเหลวอาจใช้น้ำแข็งรองก้นอ่างผสม หรือนำไปแช่ตู้เย็นจนเนยสดอยู่ตัวก่อนจึงนำมาตีต่อจนขึ้นฟูเบา
  • การตีส่วนผสมแป้งนานเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อเค้กเหนียว แน่น มีปริมาตรเล็กและหน้าแตกได้
  • ควรใช้น้ำตาลทรายละเอียดในการทำเค้กเนย เพราะจะละลายได้ดีกว่าน้ำตาลทรายหยาบ ซึ่งน้ำตาลทรายหยาบอาจทำให้เกิดจุดสีขาวที่ผิวหน้าเค้ก
  • ไม่ควรเคลื่อนย้ายเค้กขณะที่อบอยู่ในเตา เพราะจะทำให้เค้กยุบได้
  • ถ้าใช้อุณหภูมิในการอบต่ำเกินไป จะทำให้เนื้อหยาบ และหดตัว เนื่องจากใช้เวลาในการอบนานเกินไป
  • ถ้าใช้อุณหภูมิสูงเกินไปในการอบ จะทำให้เค้กหน้านูน และแตก ผิวเค้กจะหนา เนื้อเค้กจะแน่น และเค้กที่ได้จะมีขนาดเล็ก
  • ควรกระแทกพิมพ์ก่อนนำเข้าอบเพื่อไล่ฟองอากาศ
เค้กที่ไม่ใช่เป็นส่วนผสมหลัก (FOAM TYPE CAKE)
  • อ่างผสม และหัวตีที่ใช้ในการทำต้องสะอาดปราศจากไขมัน
  • ไข่ไก่ที่ใช้ต้องสด
  • การตีไข่มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เค้กที่ได้เนื้อแน่น
  • การคนส่วนผสมแรง หรือนานเกินไป รวมทั้งการวางส่วนผสมทิ้งไว้นานเกินไปก่อนอบจะทำให้ส่วนผสมยุบ และเค้กจะเนื้อแน่น
  • การอบอุณหภูมิต่ำเกินไป จะทำให้เค้กเนื้อหยาบ และแห้ง
  • ในการทำซิฟฟ่อนเค้ก ถ้าตีไข่ขาวมากเกินไปจะทำให้เป็นโพรงอากาศในเนื้อเค้ก และเค้กจะเนื้อแห้ง
  • เนื้อเค้กเป็นไตที่ก้นพิมพ์ จะเกิดจากการคนส่วนผสมไม่เข้ากันดี ส่วนผสมเหลวเกินไปหรืออบอุณหภูมิต่ำเกินไป
  • ในการทำเค้กม้วน เวลาม้วนแล้วหน้าแตกอาจเกิดจากการออกแรงกดมากเกินไปขณะม้วน หรืออบเค้กนานเกินไปทำให้เนื้อเค้กแห้ง
  • ต้องทิ้งเค้กให้เย็นก่อนนำ ซึ่งแซะเค้กออกจากพิมพ์

การแปลงหน่วยมาตราวัด

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มทำขนม เคยสังเกตหรือไม่คะว่าสูตรการทำขนมบางสูตรก็ให้มาเป็นหน่วยตวง บางสูตรก็ให้มาเป็นเป็นน้ำหนัก แล้วถ้าหากว่าเรามีเพียงเครื่องชั่งหรือมีเพียงถ้วยตวงเราจะจัดการชั่งตวงมันยังไง?
แล้วส่วนผสมก็ยังมีทั้งชนิดของแห้ง และของเหลวอีกด้วย มาตราชั่งตวงวัดนี้ ได้คัดลอกเก็บไว้ตั้งแต่เริ่มหัดทำขนมใหม่ๆ จึงหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เริ่มต้นทำเบเกอรี่นะคะ
การชั่งตวงวัด
1 ถ้วย = 16 ช้อนโต๊ะ
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ควอร์ท = 4 ถ้วย

1 ไพน์ = 2 ถ้วย
1 เดซิลิตร = 100 มิลลิลิตร
1ลิตร = 1000 มิลลิลิตร
1 ออนซ์ = 28 กรัม
8 ออนซ์ของเหลว (fluid ounce) = 1 ถ้วยตวงของเหลว (liquid cup)

การเปลี่ยนหน่วยให้เป็นน้ำหนัก

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วย = 110 กรัม

แป้งเค้ก 1 ถ้วย = 95 กรัม
แป้งขนมปัง 1 ถ้วย = 135 กรัม
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย = 225 กรัม
น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย = 200 กรัม
เนย หรือ มาการีน 1 ถ้วย = 227 กรัม
เนย หรือ มาการีน 1 ช้อนโต๊ะ = 14 กรัม
ผงโกโก้ 1 ถ้วย = 125 กรัม
ผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ = 8 กรัม
ยีสต์แห้ง 1 ช้อนชา = 4 กรัม

การเทียบอุณหภูมิระหว่าง องศาฟาเรนไฮต์ และ องศาองศาเซลเซียส ค่ะ เนื่องจากว่าเตาอบแต่ละบ้านก็อาจจะมีหน่วยที่ต่างจากสูตร ซึ่งเราสามารถใช้เทียบเคียงกันได้ดังนี้ค่ะ
 การเปลี่ยนอุณหภูมิ
200 F = 95 C
212 F = 100 C
225 F = 110 C
240 F = 115 C
250 F = 120 C
275 F = 135 C
300 F = 150 C
320 F = 160 C
325 F = 165 C
350 F = 175 C
375 F = 190 C
400 F = 205 C
425 F = 220 C
450 F = 230 C
    สูตรการคำนวณ
  จาก ฟาเรนไฮต์ เป็น เซลเซียส = (F – 32) x 5/9
  จาก เซลเซียส เป็น ฟาเรนไฮต์ = (C x 9/5) + 32





เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการทำเบเกอรี่

คุกกี้ COOKIES
  • ถ้าใช้เนยสดในการทำคุกกี้ จะต้องนำเนยสดไปแช่เย็นก่อน เนื่องจากในสภาพที่เนยสดอ่อนตัว จะมีคุณสมบัติในการตีจับอากาศไม่ดี ทำให้คุกกี้ที่ได้มีเนื้อแน่น และแข็ง
  • ถ้าเนยเหลวในขณะที่ตีจับอากาศ ให้นำส่วนผสมไปแช่เย็นก่อนเพื่อให้เนยแข็งตัว แล้วจึงนำมาตีต่อจะทำให้เนยจับอากาศได้ดีขึ้น
  • เมื่อเนย และน้ำตาลทรายถูกตีจนขึ้นฟูเบาได้ที่แล้ว สีของเนยจะขาวขึ้น ขนาดของเม็ดน้ำตาลจะเล็กลง ปริมาตรจะเพิ่มขึ้น เมื่อใช้นิ้วสัมผัสจะรู้นึกนุ่ม ไม่มีแรงต้านมือ
  • การใส่ไข่ลงในส่วนผสมจะใช้ความเร็วปานกลางในการผสม และจะค่อยๆ ใส่ไข่ลงไปทีละน้อยจนหมด ถ้าใส่ไข่เร็วเกินไป ส่วนผสมจะแยกตัว สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มความเร็วในการผสมให้มากขึ้น จนส่วนผสมเข้ากันจึงลดความเร็วลงให้เหมือนปกติ แล้วค่อย ๆ ใส่ไข่ที่เหลือลงไปจนหมด

    หรือวิธีแก้ไขอีกวิธีหนึ่งเมื่อใส่ไข่เร็วเกินไปก็คือ การใส่แป้งลงไปเล็กน้อยเพื่อให้แป้งดูดซึมไข่ส่วนที่มากเกินไปนั้น แต่วิธีนี้จะทำให้คุกกี้ที่ได้ค่อนข้างเหนียว และแข็งเพราะต้องผสมแป้งนานกว่าปกติ
  • การอบคุกกี้ส่วนใหญ่ จะใช้ไฟบนมากกว่าไฟล่าง และใช้อุณหภูมิประมาณ 350 องศา ฟ (180 องศา ซ)
    • ถ้าอบคุกกี้ในปริมาณมาก ๆ ให้เพิ่มอุณหภูมิในเตาให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิในเตาตกลงมากเกิน
    • ถ้าคุกกี้ที่อบมีขนาดเล็กกว่าปกติ สามารถใช้อุณหภูมิอบสูงกว่าปกติ จะทำให้ใช้เวลาในการอบสั้นลง
    • ถ้าสูตรของคุกกี้มีน้ำตาลทราย หรือไข่ไข่มากกว่าปกติ ให้ลดอุณหภูมิที่ใช้ในการอบลง เพื่อไม่ให้คุกกี้มีสีเข้มเกินไป
  • คุกกี้ที่อบสุกแล้วจะมีสีน้ำตาลทอง
  • คุกกี้เมื่ออบสุกแล้วให้แซะออกจากถาดทันทีแล้วพักให้เย็นบนตะแกรงพักขนม และอย่าวางซ้อนทับกันเพราะจะทำให้คุกกี้ที่ได้เสียรูปร่าง เนื่องจากคุกกี้ที่ร้อน ๆ จะยังไม่ค่อยอยู่ตัว
  • เมื่อคุกกี้เย็นแล้วให้เก็บใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่น หรือเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท อย่าทิ้งคุกกี้ที่เย็นแล้วไว้นานเกินไป เพราะคุกกี้จะดูดความชื้นจากอากาศทำให้นุ่ม ไม่กรอบ และอายุการเก็บจะสั้นลง

ทาร์ตผลไม้



ส่วนผสมคัสตาร์ดครีมซอส

ผงคัสตาร์ดสำเร็จรูป3 ช้อนโต๊ะ
นมสด1 1/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย2 ช้อนโต๊ะ
เนยสด1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ละลายนมสด 1/4 ถ้วยตวง กับผงคัสตาร์ดเข้าด้วยกัน เตรียมไว้
2. นำนมสดที่เหลือตั้งไฟ เติมน้ำตาลทรายและเนยสดคนจนส่วนผสมเดือด
3. เติมส่วนผสมคัสตาร์ดที่เตรียมไว้ กวนต่อจนส่วนผสมข้น ยกลง

ส่วนผสมแป้งทาร์ต

ไข่ไก่1 ฟอง
ไข่แดง1 ฟอง
น้ำตาลทราย75 กรัม
เนยสด150 กรัม
แป้งเค้ก250 กรัม
ผลไม้สด
วานิลลาครีมสำหรับตกแต่ง

วิธีทำ
1. ใช้มือผสมแป้งเค้กและเนยสดเข้าด้วยกัน จึงเติมน้ำตาลทราย
2. เติมไข่ไก่และไข่แดงลงไปผสมจนส่วนผสมกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. กรุใส่พิมพ์ทาร์ตและใช้ส้อมเจาะให้เป็นรู
4. นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที หรือจนทาร์ตเป็นสีเหลืองอ่อน
5. ตกแต่งด้วยการบีบวานิลลาครีมลงในทาร์ตและจัดเรียงด้วยผลไม้ต่างๆให้น่ารับประทาน
(สามารถทาแยมแอพริคอตเพื่อเพิ่มรสชาติและความสวยงามได้ค่ะ)

ฝึกทำเค้กกันนะคะ




น่าทานมั้ยคะ